วันอังคารที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2563

เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์

1.ความหมายความสำคัญ

      เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้เริ่มต้นแต่การทำทะเบียนคนไข้ การรักษาพยาบาลทั่วไป ตลอดจนการวินิจฉัยและรักษาโรคต่างๆ ได้อย่ารวดเร็วและแม่นยำ นอกจากนี้ยังใช้ในห้องทดลอง การศึกษาและการวิจัยทางการแพทย์ รักษาคนไข้ด้วยระบบการรักษาทางไกลตลอดเวลาผ่านเครือข่ายการสื่อสาร เครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า อีเอ็มไอสแกนเนอร์ ( EMI scanner ) ถูกนำมาใช้ถ่ายภาพสมองมนุษย์เพื่อตรวจหาความผิดปกติในสมอง เช่น ดูเนื้องอกพยาธิเลือดออกในสมอง และต่อมาได้พัฒนาให้ถ่ายภาพหน้าตัดได้ทั่วร่างกาย เรียกชื่อว่า ซีเอที ( CAT-Computerized Axial Tomography scanner: CAT scanner ) ใช้วิธีฉายแสงเป็นจังหวะไปรอบๆ ร่างกายของมนุษย์ ถ่ายเอ็กซเรย์และเครื่องรับแสงเอกซเรย์ที่อยู่ตรงข้ามจะเปลี่ยนแสงเอ็กซเรย์ให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าเก็บไว้ในจานแม่เหล็ก จากนั้นจะนำสัญญาณไฟฟ้าเหล่านี้เข้าไปวิเคราะห์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ และแสดงผลลัพธ์เป็นภาพทางจอโทรทัศน์หรือพิมพ์ภาพออกมาทางเครื่องพิมพ์ ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมนด้านการแพทย์และสาธารณสุข 

หลักการและเหตุผล

  เนื่องจากการบริหารจัดการระบบสารสนเทศนั้นมีบทบาทอย่างยิ่งต่อการ บริหารจัดการและพัฒนาองค์กรในทุกภาคส่วน ในวงการสาธารณสุขและวงการแพทย์ก็เช่นกันระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้โรงพยาบาล หรือสถาบันทางการแพทย์สามารถพัฒนาไปสู่เป้าหมายที่ต้องการได้อย่างมี ประสิทธิภาพโดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการและการให้บริการ และภายใต้ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศนี้ สิ่งสำคัญที่จะช่วยกำหนดแนวทางการพัฒนา คือ รูปแบบการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ การพัฒนาทักษะของบุคลากร และการบริหารการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีสารสนเทศนอกจากนี้การอบรมด้านการบริหารจัดการระบบสารสนเทศของโรงพยาบาลยังถือเป็น เรื่องใหม่ที่ไม่เคยมีการจัดมาก่อนในสถาบันอื่น

วัตถุประสงค์   

  1. เพื่อพัฒนาผู้บริหารโรงพยาบาลให้สามารถ 
  2. วางพื้นฐานแนวคิดทางด้านการบริหารระบบสารสนเทศในโรงพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ      
  3. เข้าใจองค์ประกอบที่ต้องคำนึงถึงในการบริหารและวางระบบสารสนเทศในโรงพยาบาลอย่างครบถ้วน
  4. กำหนดแผนกลยุทธ์และแผนสนับสนุนกลยุทธ์ทางด้านระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศได้                                                                                                                                                          
        การประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน ได้มีการนำมาใช้ในหลายสาขาวิชาชีพ ทั้งในด้านการศึกษา ด้านธุรกิจอุตสาหกรรม ด้านการแพทย์ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ การทำงาน การศึกษาหาความรู้ ทำให้คุณภาพชีวิตของคนในสังคมปัจจุบันดีขึ้น


2. ประเภทหรือชนิดเทคโนโลยีสารสนเทศ


        เทคโนโลยีสารสนเทศได้รับการนำมาใช้ในการพัฒนา ด้านสาธารณสุขอย่างกว้างขวาง และทำให้งานด้าน สาธารณสุขเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยกระทรวงสาธารณสุข ได้ปรับระบบการบริหารงาน และนำเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้ในงานต่างๆ ดังนี้ 

รูปแสดงการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในวงการสาธารณสุขและการแพทย์
ด้านการลงทะเบียนผู้ป่วย ตั้งแต่เริ่มทำบัตร จ่ายยา เก็บเงิน
 -
การสนับสนุนการรักษาพยาบาล โดยการเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาล ต่างๆ เข้าด้วยกัน สามารถสร้างเครือข่ายข้อมูลทางการแพทย์ แลกเปลี่ยนข้อมูลของผู้ป่วย
สามารถให้คำปรึกษาทางไกล โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชำนาญ เทคโนโลยีสารสนเทศ จะช่วยให้แพทย์สามารถเห็นหน้า หรือท่าทางของผู้ป่วยได้ ช่วยให้ส่งข้อมูลที่เป็นเอกสาร หรือภาพเพื่อประกอบการพิจารณาของแพทย์ได้
เทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยในการ ให้ความรู้แก่ประชาชนของแพทย์ หรือหน่วยงานสาธารณสุขต่างๆ เป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว ได้ผลขึ้น โดยสามารถใช้สื่อต่างๆ เช่นภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวมีเสียงและอื่นๆ เป็นต้น
เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยให้ผู้บริหารสามารถกำหนดนโยบาย และติดตามกำกับการดำเนินงานตามนโยบายได้ดียิ่งขึ้น โดยอาศัยข้อมูลที่ถูกต้องฉับไว และข้อมูลที่จำเป็น ทั้งนี้อาจใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวเก็บข้อมูลต่างๆ ทำให้การบริหารเป็นไปได้ด้วยความรวดเร็ว ถูกต้องมากยิ่งขึ้น
ในด้านการให้ความรู้หรือการเรียน การสอนทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะดาวเทียม จะช่วยให้การเรียนการสอนทางไกล ทางด้านการแพทย์และสาธารณะสุข เป็นไปได้มากขึ้นประชาชนสามารถเรียนรู้พร้อมกันได้ทั่วประเทศและ ยังสามารถโต้ตอบหรือถามคำถามได้ด้วย

  3.ตัวอย่าง

              -ช่วยวินิจฉัยโรคและตรวจสอบอาการของคนไข้
    -เก็บข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการรักษา
    - กำรทดลองและวิจัยทางวิทยาศาสตร์
    -การคำนวณและจำลองแบบ เพื่อสร้างผลงานทางวิทยาศาสตร์ใหม่ๆ
    -ช่วยในการให้ความรู้แก่ประชาชนของแพทย์ หรือหน่วยงานสาธารณสุขต่างๆ
    -การสนับสนุนการรักษาพยาบาลโดยการเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาล

 4.ข้อดีและข้อเสีย

        ข้อดี



  1.                  เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
  2.                เพิ่มผลผลิตยา
  3.                เพิ่มคุณภาพบริการรักษาพยาบาล
  4.                ผลิตสินค้าใหม่และขยายผลผลิต
  5.                สามารถสร้างทางเลือกเพื่อในการรักษามากขึ้น
  6.                สร้างโอกาสทางธุรกิจ

      ข้อเสีย

o   วงจรชีวิตของระบบสารสนเทศ เป็นระบบที่มีวงจรชีวิตค่อนข้างจำกัด อาจจะอธิบายได้ว่า เนื่องจาการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี รวมทั้งสภาพทางเศรษฐกิจและธุรกิจ
o   ลงทุนสูง เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่มีราคาแพง และส่วนมากไม่อาจจะนำไปใช้ได้ทันที แต่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเสียก่อนจึงจะใช้ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

o   ก่อให้เกิดช่องว่าง เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้เกิดช่องว่างในการรับข่าวสารระหว่างคนจนกับคนรวย

     สรุป  คือ ได้มีการนำคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในหน่วยงานต่าง ๆ เกือบทุกวงการ ทั้งภาครัฐและเอกชนไม่ว่าจะอยู่ในรูปของบุคคลหรือองค์กรใด ๆ ก็ตาม ฉะนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการศึกษาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ในหน่วยงานด้านการศึกษาก็มีความตื่นตัวและเปิดทำการเรียนการสอนในหลักสูตรดังกล่าว ทั้งในระดับ อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา และเป็นสาขาวิชาที่มีนักศึกษา ให้ความสนใจ กันมากเนื่องจากยังมีตลาดแรงงานรองรับมากนั่นเอง






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์ 1. ความหมายความสำคัญ         เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้เริ่มต้นแต่ก...